ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีบทบาทในการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ ซึ่งในส่วนของ กรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานศูนย์บริหารศัตรูพืช ทั่วประเทศ จำนวน 9 ศูนย์ ที่มีบทบาทในการ ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชและส่งเสริมให้เกษตรกร ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติใช้เอง โดยเน้นการส่งเสริมในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ทั้งการผลิตขยาย แมลงศัตรูธรรมชาติ และเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้
การผลิตขยายแตนเบียนหนอนบราคอน
การผลิตขยายแตนเบียนบราคอน ประกอบ ด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การผลิตขยายผีเสื้อข้าวสารเพื่อใช้หนอนผีเสื้อข้าวสารเป็นแมลงอาศัย และการผลิตขยายแตนเบียนบราคอน สำหรับการผลิตขยายผีเสื้อข้าวสารรายละเอียดตามที่กล่าวมาแล้ว สำหรับการผลิตขยายแตนเบียนบราคอนใช้วัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการผลิต ดังนี้
วัสดุและอุปกรณ์
1. กล่องพลาสติกพร้อมฝาเจาะรูบุด้วยผ้ามุ้งตา 2 รู และด้านข้างกล่องเจาะรูระบายอากาศบุด้วผ้าขาวตาถี่
2. ถ้วยพลาสติกกลมใสขนาดเล็กสำหรับใส่แตนบราคอน
3. ผ้ามุ้งตาถี่สีขาว
4. น้ำผึ้ง 50 เปอร์เซ็นต์
5. พู่กัน
6. คีมหนีบหนอนพลาสติกขนาดเล็ก
7. คัตเตอร์บัท
ขั้นตอนการผลิต
1. คัดหนอนผีเสื้อข้าวสารที่มีอายุ 45-50 วัน โดยนำหนอนตัวหนอนผีเสื้อข้าวสารมาจำนวน 50-75 ตัว นำมาใส่ลงในกล่องเบียน ซึ่งเป็นกล่องที่มีช่องรูระบายอากาศบุฝาด้วย ตะแกรงลวดตาข่ายตาถี่
2. นำแตนเบียนหนอนบราคอนจำนวน 5-10 คู่ มาใส่ในกล่องที่คัดเลือกหนอนไว้ (ใช้อัตราส่วนของหนอนผีเสื้อข้าวสาร 15 ตัว ต่อแตนเบียนบราคอน 1−2 คู่)
3. เตรียมอาหาร สำหรับแตนเบียนหนอนบราคอน ได้แก่น้ำผึ้งเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้น้ำผึ้งผสมกับน้ำ ที่มีอัตราส่วนน้ำผึ้ง 1 ส่วนผสมน้ำ 1 ส่วน จากนั้นำสำลีชุ่มด้วยน้ำผึ้ง เข้มข้น50เปอร์เซ็นต์มาใส่ในกล่องหรือกระดาษทิชชู่ชิ้นเล็กชุบน้ำผึ้งติดที่ด้านข้างของกล่องเบียน ที่นำแตนเบียนและหนอนมาใส่ไว้
4. หนอนผีเสื้อข้าวสารจะตายหลังจากถูกบราคอนวางไข่ 1 วัน และต่อจากนั้นอีก 4-5 วัน หนอนบราคอนจะเข้าด้กแด้ที่ผิวลำตัวหนอนผีเสื้อข้าวสาร
5. นำกล่องหนอนผีเสื้อข้าวสารที่ใส่แตนเบียนให้วางไข่ไปตั้งไว้นาน 12 วัน โดยวางไว้ในที่ร่ม และปลอดภัยจากการเข้าทำลายกัดกินของมด
6. หลังจากวันที่แตนเบียนหนอนบราคอน วางไข่ลงในหนอนผีเสื้อข้าวสารนาน12–13 วันจะได้แตนเบียนหนอนบราคอนรุ่นใหม่ออกมาจากดักแด้ที่ติดอยู่ที่ผิวลำตัวด้านนอก ตัวหนอนผีเสื้อข้าวสาร
7. แตนเบียนหนอนบราคอน 1 คู่สามารถวางไข่ลงในหนอนผีเสื้อข้าวสารต่อเนื่องได้ 10−15 ครั้ง และแตนเบียนหนอนบราคอนจะวางไข่ลงในหนอนผีเสื้อข้าวสารวันละ 1 ครั้ง
ข้อควรรู้
1. ในหนอนผีเสื้อข้าวสาร 1 ตัว จะสามารถผลิตเบียนหนอนบราคอนได้ 5−10 ตัว
2. แตนเบียนหนอนบราคอน ที่มีอายุ 2−10 วัน จะมีความแข็งแรงและให้ไข่ประมาณ 10 ฟองต่อวัน
3. เกษตรกรสามารถประหยัดพ่อแม่พันธ์ุแตนเบียนหนอนบราคอน และผลิตเพื่อปล่อยครั้งละจำนวนมากได้ใน 1 รอบของการปล่อย ด้วยการใช้พ่อแม่พันธ์ุแตนเบียนหนอนบราคอนวางไข่อย่าง
ต่อเนื่อง และกำหนดวันในการปล่อยทุก 5 วันของการเลี้ยงได้.