สื่อองค์ความรู้

ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC) วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ การควบคุมโดยชีววิธี ในการควบคุมศัตรูพืช (แมลงและไรศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช) โดยชีววิธี สนับสนุนพันธกิจด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เสริมสร้างสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ให้บริการด้านการคคัดกรอง การคัดเลือก การผลิต และการตรวจสอบคุณภาพของศัตรูธรรมชาติ และให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการที่เหมาะสม สำหรับเกษตรกรและบุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

Vedalia Beetle, Rodolia cardinalis (Coleoptera: Coccinellidae) Alegend of Success in Biological Control
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

Biological control materially received the very first great success in 1888. It was biological control of the cottony cushion scale,lcerya purchasi,which was an important insect pest of citrus by using the vedalia beetle.

ดาวน์โหลดไฟล์
ด้วงเต่าเวดาเลีย Rodolia cardinalis (Coleoptera: Coccinellidae) ตำนานความสำเร็จของการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีอย่างเป็นรูปธรรมและได้รับความสำเร็จอันใหญ่หลวงเป็นครั้งแรกซี่งคือโครงการควบคุมเพลี้ยหอยนวมฝ้าย cottony-cushion scale, lceryo purchasi (Maskell) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูส้มที่สำคัญโดยโครงการนี้นับเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้วิธีการนี้ทำการควบคุมศัตรูพืชเป็นครั้งแรกในโลก

ดาวน์โหลดไฟล์
เชื้อราบิวเวอเรีย Beauveria bassissna
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptrea Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง

ดาวน์โหลดไฟล์
ศัครูธรรมชาติของเพลี้ยไฟพริก และแนวทางการใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตพริกอินทรีย์
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

เพลี้ยไฟพริก เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีปากประเภทเขี่ยดูด ที่สามารถทำลายพืชได้ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยเป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง สามารถลงทำลายพืขได้หลายชนิด มีพืชอาศัยมากกว่า 100ชนิดใน 40 วงศ์

ดาวน์โหลดไฟล์
มวนพิฆาต หรือ มวนโล่ (Stink bugs)
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

มวนพิฆาต Stink bug; Ecoanthecona เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดพวกแมลงตัวห้ำทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมียสามารถทำลายศัตรูพืชในระยะหนอนได้หลายชนิด โดยเฉพาะหนอนฝีเสื้อต่างๆ มวนพิฆาตสามาถนำไปปล่อยเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช และดำรงชีวิตอยู่ในสภาพสวนและสภาพไร่

ดาวน์โหลดไฟล์
มวนเพชฌฆาต Sycanus collaris
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

มวนเพชฌฆาต เป็นแมลงตัวห้ำที่มีบทบาทในการควบคุมหนอนผีเสื้อหลายชนิดโดยจะใช้ปากแทงเข้าไปในตัวหนอนแล้วปล่อยสารพิษทำให้หนอนเป็นอัมพาต จากนั้นจะดูดกินของเหลวจากตัวหนอนและทำให้หนอนแห้งตายทิ้งไว้แต่ผนังสำตัวที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก

ดาวน์โหลดไฟล์
แมลงหางหนีบ Earwigs
ผศ.ดร.ศมาพร แสงยศ

แมลงหางหนีบ (Earwigs) Proreus simulans เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติประเภทตัวห้ำมีทั้งชนิดตัวสีน้ำตาลและตัวสีดำ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแมลงหางหนีบทำลายไข่และหนอนขนาดเล็กพบในแปลงอ้อยข้าวโพด

ดาวน์โหลดไฟล์
การใช้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการควบคุมแมลงศัตรูผักแบบบูรณาการ
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control) เป็นการควบคุมประชากรของศัตรูพืชเช่นแมลงศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าศัตรูธรรมชาติ (natural enemies) ซึ่งประกอบด้วยตัวห้า (predators) ตัวเบียน (parasites parasitoids) และโรค (pathogens) ในเชิงเศรษฐศาสตร์

ดาวน์โหลดไฟล์
แมลงกินวัชพืช
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

แมลงกินวัชพืชชนิดต่างๆ

ดาวน์โหลดไฟล์
แมลงตัวเบียน
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

แมลงตัวเบียน ในภาษาไทย หรือ “insect parasite” “parasitize” และ กระบวนการลงเบียนเป็น “parasitization” (การติดเชื้อปรสิต) หรือ “parasitism (ภาวะปรสิต)

ดาวน์โหลดไฟล์
ด้วงเต่าตัวหำ
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

ด้วงเต่าตัวห้ำตัวเต็มวัย (Coleoptera: Coccinellidae: Coccidulinae )

ดาวน์โหลดไฟล์
แมลงตัวห่ำชนิดอื่นๆ
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

แมลงตัวห่ำชนิดอื่นๆ

ดาวน์โหลดไฟล์
เชื้อโรคของแมลง
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

เชื้อโรคของแมลง

ดาวน์โหลดไฟล์