"เรามุ่งมั่น การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และแบ่งปันความรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Biological Control Technology Learning Center Maejo University (MJU-BCTLC)

ปรัชญา

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างสร้างสรรค์ และการแบ่งปันความรู้ คือรากฐานที่แท้จริงและเข้มแข็งของประเทศ

วิสัยทัศน์

สร้างรากฐานการพัฒนาประเทศ ด้วยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มุ่งสู่การใช้และการแบ่งปันผลระโยชน์ที่ยุติธรรม และทัดเทียมกันสู่ชุมชน

พันธกิจ

พันธกิจของศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการบริการวิชาการทั้งแบบให้เปล่าและมีค่าบริการ การเรียนการสอน และการวิจัย ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี  ซึ่งมีพันธกิจหลักได้แก่

สร้างขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคล

ให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมโดยชีววิธี โดยการบูรณาการ การเรียน การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ

พัฒนาองค์ความรู้

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการควบคุมโดยชีววิธี โดยบูรณาการผลงานวิจัยกับงานบริการวิชาการ จากทรัพยากรบุคคลที่เชี่ยวชาญ

สร้างเครือข่าย

จากหลายหน่วยงานร่วมกัน นักวิชาการเกษตร ผู้ชำนาญการอารักขาพืช และผู้นำชุมชน เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ที่จำเป็นและผลระโยชน์ของการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี สู่ชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และนานาประเทศ

ศูนย์กลางความรู้

เป็นศูนย์ฝึกอบรม และแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี แก่ชุมชน บุคลกรภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรผู้นำ

กิจกรรมหลัก

วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

การควบคุมโดยชีววิธี ในการควบคุมศัตรูพืช (แมลงและไรศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช) โดยชีววิธี โดยการบูรณาการกิจกรรมด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และด้านบุคลากรและงบประมาณที่ได้รับ

สนับสนุนพันธกิจด้านการเรียนการสอนและการวิจัย

ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เสริมสร้างสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการบูรณาการกิจกรรมด้านการเรียนการสอน การวิจัย การฝึกอบรมของศูนย์เรียนรู้ฯ กับวิชาเรียนตามหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในรายวิชาที่เน้นด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีและการเษตรอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัย

การฝึกอบรม

ในรูปแบบต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน สำหรับเกษตรกรและบุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศและต่างประเทศ

การให้บริการ

ด้านการคคัดกรอง การคัดเลือก การผลิต และการตรวจสอบคุณภาพของศัตรูธรรมชาติ สำหรับเกษตรกร และผู้สนใจการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีจากทุกภาคส่วน

ให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้

ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการที่เหมาะสม สำหรับเกษตรกรและบุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

โครงสร้างศูนย์การเรียนรู้

โครงการเรียนรู้ฯ มีการจัดวางผังโครงสร้าง หน่วยงานภายในรูปแบบการบริหารหน่วยงานแบบกึ่งวิสาหกิจ ภายใต้งานกิจการพิเศษคณะผลิตกรรมการเกษตร เพื่อการดำเนินงานตามพันธกรณี ตามปรัชญา วิศัยทัศน์ พันธกิจและกิจกรรมต่างๆ

หน่วยงานบริหาร

ในกิจกรรมด้านการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ มีการเปิดสอนวิชาหลัก คือ วิธีการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ในระดับปริญญาตรี และเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาด้านการอารักขาพืชระดับปริญญาโท ในความรับผิดชอบของโครงการเรียนรู้ฯ นอกจากนักศึกษาไทยแล้ว มีนักศึกษาต่างประเทศจากเมียนมาร์ ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนแรกไปแล้ว 1 ราย เมื่อปีพ.ศ. 2559 และขณะนี้มีนักศึกษาจากประเทศภูฏาน ที่ยังทำการศึกษาอยู่อีก 1 ราย

หน่วยงานวิจัยและพัฒนา

กิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยของโครงการเรียนรู้ฯ ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว และกำลังดำเนินการอยู่ คือ โครงการสำรวจรวบรวม และการประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติ หรือตัวกระทำการควบคุมโดยชีววิธี เช่น แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน และเชื้อโรคแมลง ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี และแมลงที่กินพืช ในการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธี

หน่วยงานฝึกอบรม และการสาธิต

โครงการเรียนรู้ฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการอบรม เรื่อง Advance Training Course in Forest Economology ให้นักวิชาการจากประเทศภูฏาน ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 12 มีนาคม 2561

หน่วยงานการผลิตและการควบคุมคุณภาพ

งานผลิตและควบคุมคุณภาพ ประกอบด้วย 2 งานได้แก่ งานผลิตศัตรูธรรมชาติ (แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช) ตามจำนวนและคุณภาพที่กำหนดของนักวิชาการเกษตรและผู้ควบคุมคุณภาพ งานควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์และการขนส่งศัตรูธรรมชาติ มีหน้าที่ทดสอบและตรวจสอบ คุณสมบัติทางชีววิทยา (ความสมบูรณ์พันธุ์ อัตราส่วนเพศ พฤติกรรม พันธุกรรม ฯลฯ) จำนวน วิธีการคัดบรรจุ การวัดและตรวจสอบอายุ การเก็บรักษา การติดฉลาก และการขนส่งผลิตภัณฑ์ ชนิดพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ให้แก่ลูกค้าและผู้รับบริการ

ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สถานที่ติดต่อและรายละเอียดเพิ่มเติม

63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290

sama_mju@yahoo.com

081 374 5126