ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นวิธีการควบคุมแมลงโดยชีวววิธีอย่างหนึ่งซึ่งในปัจจุบันได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นโดยลำดับ สำหรับการเรียนรู้ด้านการควบคุมโดยชีววิธีโดยใช้เชื้อโรค สิ่งที่ผู้สนใจควรทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ได้แก่ ความหมายของการควบคุมโดยใช้จุลินทรีย์ (microbial control)
ประวัติโดยสังเขปของวิธีการดังกล่าว (A brief history) ตั้งแต่ยุกต์ที่มนุษย์ได้รู้จักการเป็นโรคของแมลงจนเกิดศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กลไกหลักๆ ของของการเข้าทำลายแมลงของเชื้อ จุลิทรีย์โดยสังเขป ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองแบบหลัก ได้แก่ แบบสัมผัส (contact) และโดยผ่านการกิน (ingestion) จากนั้นควรรู้จักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่สามารถก่อโรคกับแมลงซึ่ง ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ราโปรโตซัว ไส้เดือนฝอย รวมทั้งอนุภาค DAN หรือ RNA ที่เรียกว่าไวรัส ทั้งนี้จุลินทรีย์โรคของแมลงเหล่านี้เป็นเชื้อที่มีความจำเพาะต่อแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จึงสามารถนำมาควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการนำมาใช้ในรูปยาเชื้อ (micro insecticide)