ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
Menochilus sexmaculatus (Coleoptera: Coccinellidae)
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Menochilus sexmaculatus (Coleoptera: Coccinellidae)
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ด้วงเต่าตัวห้ำ M. sexmaculatus เป็นด้วงเต่า ขนาดกลาง (กว้างxยาว ประมาณ 3.5-4.5 x 4.0-5.5 มิลลิเมตร) ตลอดอายุขัย ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 527 – 677 ฟ้องต่อตัว ใช้เวลาในระยะไข่โดยประมาณ 10-11 วัน และระยะตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย 22-23 วัน ดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยอยู่ระหว่าง 29-40 วัน ระยะที่มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำ ได้แก่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
M. sexmaculatus เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในเขตร้อน แพร่กระจายในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินเดีย ไทย และแถบแอฟริกาใต้ เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งกินเหยื่อได้หลายชนิดโดยเฉพาะแมลงที่มีตัวอ่อนนุ่ม เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยอ่อนและแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นเหยื่อ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สมหมาย ชื่นราม. 2545. ด้วงเต่าในประเทศไทย. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 211 หน้า.
Mari, J.M., S.M. Nizamani, M.K. Lobar and R.D. Khuhro. 2004. Biology of Menochilus sexmaculatus Fab. and Coccinella undecimpunctata L. (Coccinellidae: Coleoptera) on Alfalfa Aphid Therioaphis trifolii Monell. Journal of Asia-Pacific Entomology. 7(3): 297–301.