ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
Harmonia octomaculata (Coleoptera: Coccinellidae)
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Harmonia octomaculata (Coleoptera: Coccinellidae)
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ด้วงเต่าตัวห้ำ H. octomaculata เป็นด้วงเต่า ขนาดกลาง (กว้างxยาว ประมาณ 3.5-5.3 x 5.0-7.5 มิลลิเมตร) ตลอดอายุขัย ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 150-200 ฟองต่อตัว ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 19-20 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยอยู่ระหว่าง 7-14 กินเหยื่อได้ 5-10 ตัวต่อวัน ระยะที่มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำ ได้แก่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
H. octomaculata เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศ อินเดีย ไทย และมาเลเชีย รวมทั้งออสเตรเลีย เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งกินเหยื่อได้หลายชนิดโดยเฉพาะแมลงที่มีตัวอ่อนนุ่ม เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น และไข่ของผีเสื้อบางชนิด
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยอ่อนและแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นเหยื่อ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สมหมาย ชื่นราม. 2545. ด้วงเต่าในประเทศไทย. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 211 หน้า.
Shepard B.M., Barrion, A.T. and J.A. Litsinger. 1987. Helpful insects, spiders, and pathogens. Manila (Philippines): International Rice Research Institute. 127 p.