ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
ตัวห้ำ (Predators)
“แมลงตัวห้ำ” มักมีขนาดตัวที่โตกว่าสิ่งที่มันกินซึ่งเรียกว่า “เหยื่อ” (prey) ของมัน ซึ่งอาจมีพฤติกรรมการกินโดยการจับแล้วกิน หรือดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อหมดทั้งตัว และต้องกินเหยื่อหลายตัวเพื่อการดำรงชีวิตจนครบวงจรชีวิต บางชนิดมีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ยกตัวอย่างเช่นด้วงเต่าตัวห้ำ (predacious beetles) หรือบางชนิดมีพฤติกรรมการเป็นตัวห้ำเฉพาะบางช่วงอายุเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นแมลงช้างปีกใส (lacewing) และแมลงวันดอกไม้ (syrphis fly) ที่ตัวเต็มวัยอาศัยกินน้ำหวานตามดอกไม้ ส่วนตัวอ่อนมีพฤติกรรมการกินแมลง
Menochilus sexmaculatus (Coleoptera: Coccinellidae)
Coccinella tranversalis (Coleoptera: Coccinellidae)
Harmonia octomaculata (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis discolor (Coleoptera: Coccinellidae)
Synonycha grandis (Coleoptera: Coccinellidae)
Chilocorus politus (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
Podothrips lucasseni (Kruger)
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Karnyothrips flavipes (Jones).
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Androthrips flavipes Schmutz.
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
ตัวเบียน (Parasitoids)
แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีวิวัฒนาการจนถึงขั้นที่เรียกว่าการเบียนตัวเอง(adelphoparasitism หรือ autoparasitism) กล่าวคือแมลงเบียนชนิดเดียวกันสามารถเบียนแมลงเบียนที่อยู่ในชนิดเดียวกันได้ และโดยทั่วไปแมลงตัวเบียนทุกชนิดจะพฤติกรรมการกินแมลงในระยะตัวอ่อนเท่านั้น และใช้ตัวอาศัย (host) เพียงหนึ่งตัวในการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต และทำให้ตัวอาศัยตัวนั้นตายในที่สุด
ส่วนตัวเต็มวัยของตัวเบียนจะมีชีวิตเป็นอิสระ หาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ สิ่งขับถ่ายจากเพลี้ย หรือของเหลวจากตัวอาศัยที่มันทำลาย โดยทั่วไปตัวเบียนจะอาศัยกินอยู่ตัวเหยื่อภายนอกหรือภายใน และอาศัย กินอยู่ในลักษณะนี้เป็นเวลานานตลอดวงจรชีวิต หรืออย่างน้อยก็ระยะหนึ่งของวงจรชีวิต ทั้งนี้ตัวเบียนมีขนาดเล็กกว่าตัวอาศัยมาก ส่วนใหญ่ตัวอาศัยหนึ่งตัวจะมีตัวเบียนอาศัยอยู่จำนวนมาก และตัวเบียนจะค่อย ๆ ดูดกินอาหารจากเหยื่ออย่างช้า ๆ และทำให้เหยื่อตาย แมลงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวเบียนของแมลงอีกชนิดหนึ่ง เราเรียกเป็นแมลงตัวเบียน (parasites หรือ parasitoids)จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นวิธีการควบคุมแมลงโดยชีวววิธีอย่างหนึ่งซึ่งในปัจจุบันได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นโดยลำดับ สำหรับการเรียนรู้ด้านการควบคุมโดยชีววิธีโดยใช้เชื้อโรค สิ่งที่ผู้สนใจควรทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ได้แก่ ความหมายของการควบคุมโดยใช้จุลินทรีย์ (microbial control)
ประวัติโดยสังเขปของวิธีการดังกล่าว (A brief history) ตั้งแต่ยุกต์ที่มนุษย์ได้รู้จักการเป็นโรคของแมลงจนเกิดศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กลไกหลักๆ ของของการเข้าทำลายแมลงของเชื้อ จุลิทรีย์โดยสังเขป ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองแบบหลัก ได้แก่ แบบสัมผัส (contact) และโดยผ่านการกิน (ingestion) จากนั้นควรรู้จักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่สามารถก่อโรคกับแมลงซึ่ง ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ราโปรโตซัว ไส้เดือนฝอย รวมทั้งอนุภาค DAN หรือ RNA ที่เรียกว่าไวรัส ทั้งนี้จุลินทรีย์โรคของแมลงเหล่านี้เป็นเชื้อที่มีความจำเพาะต่อแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จึงสามารถนำมาควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการนำมาใช้ในรูปยาเชื้อ (micro insecticide)เอกสารวิชาการ "ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์"