ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
เชื้อบีที
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bacillus thuringiensis
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
เชื้อบีที เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และ มีความเฉพาะเจาะจงทำลายแมลงศัตรูพืช โดยทำลายแมลง ในอันดับผีเสื้อและด้วงในระยะตัวอ่อน เชื้อบีที จึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ชนิดอื่น รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ วิจัยและพัฒนาเชื้อบีทีอย่างกว้างขวางเพื่อนำมาใช้ควบคุมแมลง ในปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายเชื้อบีที เป็นการค้า ซึ่งเชื้อบีทีที่จำหน่ายในประเทศไทย เป็นเชื้อที่ผลิตในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่าย ชนิดของเชื้อบีที เชื้อบีทีควบคุมแมลง ที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1. Bacillus thuringiensis สายพันธุ์aizawai ใช้ควบคุมหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทูหอม้ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบส้ม ฯลฯ 2. Bacillus thuringiensis สายพันธุ์kurstaki ใช้ควบคุมหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบส้ม ฯลฯ 3. Bacillus thuringiensis สายพันธุ์tenebrionis ใช้ควบคุมหนอนด้วง เช่น ด้วงหมัดผัก
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
เชื้อบีทีทำลายแมลงแตกต่างจากสารเคมี คือ สารเคมีส่วนใหญ่กำจัดแมลง โดยถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลง โดยตัวอ่อนของแมลงกินเชื้อบีทีเข้าไป สภาพความเป็นด่างในกระเพาะอาหาร ทำให้ เซลล์แบคทีเรียแตกสลาย และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของแมลง จะย่อยสลายผลึกโปรตีนและกระตุ้น ให้กลายเป็นสารพิษ (toxin) โปรตีนสารพิษเข้าทำลายเซลเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารของแมลง และเกิด รูรั่วบนผนังกระเพาะอาหาร ทำให้การดูดซึมและการถ่ายเทแร่ธาตุอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไป ในเลือดของแมลงผิดไปจากปกติ กระเพาะอาหารของแมลงไม่สามารถทำงานได้ โดยหยุดย่อยอาหาร พร้อมทั้งระบบเลือดผิดปกติ ทำให้แมลงเป็นอัมพาต แมลงหยุดกินอาหาร สปอร์ของเชื้อบีทีใน กระเพาะอาหารผ่านทางรูรั่วเข้าไปในเลือดของแมลง เชื้อเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ แมลงเกิดอาการโลหิตเป็นพิษ แมลงชักกระตุกและตายภายใน 5-7 วัน
การนำไปใช้
1. อ่านฉลากและใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ไม่ใช้อัตราสูง หรือต่ำเกินไป เชื้อบีทีที่มีจำหน่าย ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อและหลายความเข้มข้น ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดศัตรูพืช การเลือกซื้อ เชื้อบีทีต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ และเป็นเชื้อที่เก็บในที่แห้ง ไม่ถูกแสงแดด 2. เชื้อบีทีเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ทนแสงอุลตราไวโอเลต (UV) หากพ่นเชื้อบนส่วนของพืชและถูกแสงแดด เป็นเวลานานๆ โดยที่แมลงไม่มากิน เชื้อบีที จะเสื่อมประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว จึงควรพ่นเชื้อบีที ในช่วง หลังสามโมงเย็น หรือในช่วงไม่มีแสงแดด 3. เชื้อบีทีจะมีผลทำลายแมลงก็ต่อเมื่อแมลงกินเข้าไป จึงต้องพ่นเชื้อให้ครอบคลุมทุกส่วน ของพืชที่แมลงกินเป็นอาหาร 4. การใช้เชื้อบีทีในระยะที่หนอนอ่อนแอหรือเพิ่งฟักจากไข่ สามารถทำลายหนอนได้ดีกว่า การใช้กับหนอนที่แข็งแรงหรืออายุมากแล้ว เมื่อพบการระบาดของหนอน ควรพ่นเชื้อบีทีอัตราตามแนะนำ ในฉลาก โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ทุก 3-4 วัน 5. ปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสาร ให้ละอองเล็กที่สุด จะช่วยให้ละอองสารเกาะผิวใบได้ดี เป็นการช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง 6. ควรผสมสารจับใบทุกครั้ง อัตราตามคำแนะนำ