ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
เชื้อบีเอส
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bacillus subtilis
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
เชื้อบีเอส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยไม่ทำความ เสียหายให้กับพืช มีความสามารถในการปรับตัวและทนทาน ต่อสภาพแวดล้อมที่ผันแปร โดยการสร้างสปอร์ เชื้อบีเอสสามารถ ควบคุมเชื้อโรคพืชได้หลายชนิด ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย1. ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคเหี่ยว โรคเน่าคอดิน ฯลฯ2. ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคกาบใบแห้ง โรคเน่าเละ โรคแคงเกอร์ ฯลฯ
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
สำหรับกลไกในการควบคุมโรคพืชของแบคทีเรียในสกุลนี้ ได้แก่ การแข่งขันแย่งชิงพื้นที่ และ อาหาร (Competition) การครอบครองพื้นที่ โดยคลุมโคโลนีของเชื้อสาเหตุโรคพืช (Colonization) และ การสร้างสารต่างๆ ออกมาภายนอก เพื่อหยุดการเจริญและย่อยสลายเส้นใยของเชื้อราโรคพืช ได้แก่ สารปฏิชีวนะและเอนไซม์ ตลอดจนผลิตสารคีเลต ซึ่งมีความสามารถในการแย่งจับธาตุเหล็ก ทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืชได้รับธาตุต่างๆ ไปใช้เป็นแหล่งอาหารในกระบวนการเจริญไม่เพียงพอ
การนำไปใช้
1. ใช้เชื้อบีเอส อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ทาแผลที่เกิดจากโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1- 2 สัปดาห์ 2. ฉีดพ่นเชื้อบีเอส อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1- 2 สัปดาห์ 3. ใช้เชื้อบีเอส คลุกเมล็ดเพื่อควบคุมโรคที่ติดมากับเมล็ด