ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
แตนเบียนหนอนชอนใบส้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ageniaspis citricola
Quadrastichus sp.
Cirrospilus ingenuus
อันดับ (Order)
Hymenoptera
วงศ์ (Family)
Encyrtidae,Eulophidae
ความสำคัญ
หนอนชอนใบส้มชอนไชผิวใบส้ม เห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยว ไปมา จากนั้นเข้าดักแด้ที่ขอบใบ การทำลายของหนอนชอนใบส้ม ทำให้ ใบส้มหงิกงอบิดเบี้ยว ตันส้มที่ยังเล็กจะชะงักการเจริญเติบโต ส่วนต้น ส้มที่โตแล้วอาจจะทำให้ผลผลิตลดลง หนอนชอนใบส้มระบาดมากใน ช่วงฤดูฝน จากการศึกษาแมลงศัตรุธรรมชาติของหนอนชอนใบส้มใน ประเทศไทย พบแตนเบียนหนอนชอนใบส้มประมาณ 17 ชนิด ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมหนอนชอนใบส้ม
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
แตนเบียน Ageniaspis citricola เป็นแตนเบียนภายใน ทำลายหนอนชอนใบส้ม โดยการวางไข่ลง ในหนอนชอนใบส้ม ตัวอ่อนของแตนเบียนเจริญเติบโตและอาศัยดูดกินอยู่ภายในตัวหนอนชอนใบส้ม จนหนอนหนอนชอนใบเข้าดักแด้ แตนเบียนเจริญเติบโตเต็มที่ และเข้าดักแด้ โดยเรียงต่อกันคล้ายขบวน รถไฟ 3-7 รัง ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 16-21 วัน แตนเบียน Quadrastichus sp. และแตนเบียน Cirrospilus ingenuus เป็นแตนเบียนภายนอก โดยแตนเบียน Quadrastichus sp. ทำลายหนอนชอนใบส้มในระยะวัย 2-3 โดยวางไข่ติดกับ หนอนชอนใบส้ม เมื่อหนอนฟักออกมา ก็ดูดกินน้ำเลี้ยงจากหนอน และเจริญเติบโตเข้าดักแด้ จนเจริญ เป็นตัวเต็มวัย ส่วนแตนเบียน Cirrospilus ingenuus ทำลายหนอนชอนใบส้มในระยะก่อนเข้าดักแด้ (prepupae) โดยแตนเบียนวางไข่ หลังจากนั้นหนอนแตนเบียนที่ฟักออกมา ดูดกินดักแด้หนอนชอนใบส้ม จนกระทั่งหนอนแตนเบียนโตเต็มที่ และเจริญเป็นดักแด้ภายในรังดักแด้ที่หนอนชอนใบส้มสร้างขึ้นมา
การนำไปใช้
การใช้แตนเบียนหนอนชอนใบส้มในการควบคุมหนอนชอนใบส้ม ให้ปล่อยแตนเบียน 100 ตัวต่อไร่ เมื่อส้มเริ่มแตกใบอ่อน และปล่อยซ้ำในช่วงส้มแตกใบอ่อน ซึ่งเป็นช่วงที่หนอนชอนใบส้มลงทำลายส้ม