ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
เชื้อไวรัส เอ็นพีวี
ชื่อวิทยาศาสตร์
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
เชื้อไวรัส เอ็นพีวี เป็นเชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ที่ทำลายหนอนศัตรูพืชในกลุมหนอนผี่ เสื้อ มีความเฉพาะ เจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย จึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถทำให้หนอนศัตรูพืชเป็นโรคตายภายใน 5-7 วัน หลังจากได้รับเชื้อ
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
เชื้อไวรัสทำให้แมลงเป็นโรคตาย โดยที่ตัวอ่อนของแมลง(หนอน) กินเชื้อไวรัสเข้าไป เมื่อไวรัสเข้าสู่ กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลาย โดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ที่มีสภาพเป็นด่างจัด อนุภาคไวรัสจะเข้าทำลายเซลกระเพาะอาหาร และอนุภาคไวรัสจะเพิ่มจำนวน แพร่กระจายเข้าสู่ภายในลำตัวของแมลงเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ ของแมลง เช่น เลือด ไขมัน กล้ามเนื้อ ทำให้หนอนเป็นโรคและตายในเวลา 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของหนอนที่ได้รับเชื้อ เมื่อหนอนได้รับเชื้อตาย หนอนตัวอื่นๆ ที่มากัดกินซากหนอน ก็จะได้รับเชื้อไวรัสจากซากหนอนที่ตาย นอกจากนี้ลมและฝนยังช่วย แพร่กระจายเชื้อไวรัส
การนำไปใช้
1. สำรวจชนิดและปริมาณหนอนศัตรูพืช เพื่อเลือกใช้เชื้อไวรัสเอ็นพีวีให้ตรงตามชนิดของ หนอนศัตรูพืช เนื่องจากเชื้อไวรัส เอ็นพีวี มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายหนอน 2. พ่นเชื้อไวรัสเมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนวัย 1-3 ในอัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากการระบาดรุนแรงพ่นอัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4 วัน ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยฉีดพ่นตอนเย็น หนอนที่ตายด้วยเชื้อไวรัส เอ็นพีวี สามารถเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ โดยเก็บ หนอนใส่ในขวดพลาสติก และใช้ฉีดพ่นในอัตราหนอน 2 ตัวต่อน้ำ 1 ลิตร