ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
แตนเบียนหนอนบราคอน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bracon hebetor
อันดับ (Order)
Hymenoptera
วงศ์ (Family)
Braconidae
ความสำคัญ
แตนเบียนหนอนบราคอน เป็นแตนเบียนขนาดเล็ก ประมาณ 1.3−2.7 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมีย ทำลายแมลงศัตรูพืชในระยะหนอน โดยทำลายหนอนของผีเสื้อ เช่น หนอนหัวดำมะพร้าว หนอนผีเสื้อ ข้าวสาร ฯลฯ
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
แตนเบียนเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่เจาะแทงที่ตัวหนอนศัตรูพืช ไข่ของแตนเบียนเจริญเติบโต และ ฟักออกมาดูดกินของเหลวจากหนอนศัตรูพืช แตนเบียนเข้าดักแด้อยู่บนซากหนอนศัตรูพืช และ เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะออกมา เพื่อผสมพันธุ์และทำลายหนอนศัตรูพืชตัวใหม่ต่อไป
การนำไปใช้
ใช้ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว ปล่อย แตนเบียนในระยะตัวเต็มวัย 200 ตัวต่อไร่ ในช่วง เวลาเย็น ทุก 15 วัน ในพื้นที่ที่มีการระบาด และ หากการระบาดลดลง สามารถลดอัตราการปล่อย หรือความถี่ในการปล่อยได้