ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogramma sp.
อันดับ (Order)
Hymenoptera
วงศ์ (Family)
Trichogrammatidae
ความสำคัญ
แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา เป็นแตนเบียนที่ทำลายแมลงศัตรูพืชในระยะไข่ โดยทำลายไข่ของ ผีเสื้อศัตรูพืชมากกว่า 30 ชนิด เช่น หนอนกออ้อย หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนแก้วส้ม แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มีการผลิตและใช้แพร่หลายในหลายประเทศ เช่น ในประเทศจีน ใช้ควบคุมแมลงในไร่ฝ้าย ไร่ข้าวโพด นาข้าว ในประเทศอินเดีย ใช้ควบคุมหนอนกออ้อย ส่วนในประเทศ ฟิลิปปินส์ ใช้ในการควบคุมหนอนเจาะฝักข้าวโพด สำหรับประเทศไทยมีการใช้แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา ควบคุมหนอนกออ้อยกันอย่างแพร่หลาย และในปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
แตนเบียนเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่เจาะแทงเข้าไปในไข่ของแมลงศัตรูพืช ไข่ของแตนเบียนเจริญเติบโต และฟักออกมาดูดกินของเหลวภายในไข่แมลงศัตรูพืช ไข่ที่ถูกเบียนจะเปลี่ยนเป็นสีดำภายใน 3−4 วัน ทำให้ไข่ไม่สามารถฟักเป็นตัวหนอนได้ แตนเบียนจะเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่แมลงศัตรูพืช และเมื่อเจริญ เป็นตัวเต็มวัยจะเจาะออกมา เพื่อผสมพันธุ์และทำลายไข่ศัตรูพืชฟองใหม่ต่อไป ไข่ 1 ฟอง มีแตนเบียนได้ 1-4 ตัว ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร
การนำไปใช้
ปล่อยแตนเบียน 20,000 ตัวต่อไร่ (10 แผ่น)โดยนำแผ่นแตนเบียนไปติดไว้กับใบพืช ต้นพืชให้ กระจายทั่วทั้งแปลง ในช่วงที่สำรวจพบผีเสื้อและกลุ่มไข่ปล่อยในช่วงเวลาเย็น จุดปล่อยแต่ละจุดควรมี ระยะห่างกัน 15-20 เมตร โดยปล่อย ทุก 15 วัน