ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
ไรตัวห้ำ
Predatory mite
ชื่อวิทยาศาสตร์
Amblyseius longispinosus
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
ไรตัวห้ำ เป็นสัตว์คล้ายแมงมุมขนาดเล็ก มี 8 ขา มีทั้งที่เป็นศัตรูธรรมชาติและศัตรูพืช ลักษณะ ปากดูด โดยไรศัตรูพืชมักเกาะอยู่กับที่ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช เห็นอาการเป็นจุดเล็กสีขาวบนใบ ส่วนไรตัวห้ำ จะเคลื่อนที่ตลอดเวลา เพื่อหาเหยื่อ โดยจะทำลายไรศัตรูพืช ในธรรมชาติมักพบไรตัวห้ำ ปะปนในกลุ่มไรศัตรูพืช และคอยกินไรศัตรูพืชเป็นอาหาร ซึ่งสามารถชอนไชเข้าไปกินไรศัตรูพืชในทุกส่วน ของพืช มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถดูดกินไข่ไรศัตรูพืชได้ 80 ฟองต่อวัน และ กินไรศัตรูพืชได้วันละ 12-13 ตัว
ลักษณะรูปร่าง
ไข่: ลักษณะกลมรี สีขาวใส เป็นฟองเดี่ยว ๆ บนใบพืชด้านใต้ใบ
ตัวอ่อน: ตัวอ่อน : วัย 1 มี 6 ขา ลำตัวขาวใส วัย 2 เริ่มมี 8 ขา ลำตัวใส เมื่อลอกคราบเป็นวัย 3 ลำตัว เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ขาคูหน้่ ายาว เคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก
ตัวเต็มวัย: เพศเมียรูปร่างอ้วนกลม ผิวเป็นมันคล้ายหยดน้ำ สีแดงสดใส เคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก ตัวเต็มวัย มีอายุประมาณ 15 วัน ระยะตัวเต็มวัยเพศเมียที่กำลังวางไข่ต้องการอาหารมากที่สุด
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
ไรตัวห้ำใช้ขา 2 คู่หน้าช่วยในการจับไรศัตรูพืช แล้วใช้ส่วนของปาก (stylet) เจาะลงบนไรศัตรูพืช เพื่อดูดของเหลวภายในตัวเหยื่อ ไรตัวห้ำระยะตัวอ่อนวัย 1 ไม่กินอาหาร เริ่มกินอาหารเมื่อเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2
การนำไปใช้
นำใบพืชที่มีไรตัวห้ำ ไปปล่อยในในแหล่งที่มีไรศัตรูพืช อัตรา 2,000 ตัวต่อไร่ ในพืชผัก และไม้ดอก ส่วนในไม้ผล ปล่อยไรตัวห้ำ 2,000 ตัวต่อต้น การปล่อยไรห้ำควบคุมไรศัตรูกุหลาบ ปล่อยไรตัวห้ำ อัตรา 3-4 ตัวต่อต้น เมื่อเริ่มพบการทำลาย ของไรในกุหลาบ โดยปล่อยทุก 2 สัปดาห์ เมื่อไรตัวห้ำตั้งรกรากได้ ก็สามารถควบคุมไรศัตรูพืช ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ อัตราส่วนไรตัวห้ำ : ไรศัตรูพืชที่สมดุล ประมาณ 1 : 40 ควรปล่อยในสภาพแวดล้อมที่มี ความชื้นสูง อากาศไม่ร้อน หรือเย็นจัด ไม่ควรพ่นน้ำต้นพืช หลังปล่อยไรตัวห้ำทันที เพราะไรตัวห้ำจะถูก น้ำชะล้าง