ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีบทบาทในการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ ซึ่งในส่วนของ กรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานศูนย์บริหารศัตรูพืช ทั่วประเทศ จำนวน 9 ศูนย์ ที่มีบทบาทในการ ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชและส่งเสริมให้เกษตรกร ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติใช้เอง โดยเน้นการส่งเสริมในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ทั้งการผลิตขยาย แมลงศัตรูธรรมชาติ และเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้
การผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรีย
วัสดุและอุปกรณ์
1. ตู้เขี่ยเชื้อ
2. หม้อนึ่งลูกทุ่ง
3. หัวเชื้อราบิวเวอเรีย
4. เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวสาร ข้าวโพด หรือข้าวฟ่าง
5. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 13 ซม.
6. แอลกอฮอล์
7. คอขวด
8. สำลี
9. ยางรัดของ
ขั้นตอนการผลิตขยายผีเสื้อข้าวสาร
1. ล้างทำความสะอาดเมล็ดธัญพืช หากใช้ข้าวสาร แช่น้ำนาน ½ ชั่วโมง ส่วนเมล็ดข้าวโพด และข้าวฟ่างแช่น้ำ 1 คืน
2. นำเมล็ดพืชผึ่งบนตะแกรง พอหมาดๆ
3. ตักใส่ถุงประมาณ ½ กิโลกรัม ใส่คอขวด ปิดจุกด้วยสำลี ปิดด้วยกระดาษ รัดยาง
4. นำถุงเมล็ดพืช ใส่ในหม้อนึ่งลูกทุ่ง โดยจัดเรียงในตะกร้าเป็นชั้นๆ อย่าให้แน่นจนเกินไป เริ่มจับเวลาการนึ่งฆ่าเชื้อหลังจากน้ำเดือด 3 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนด ค่อยๆ เปิดวาล์ว ระบายอากาศจนหมด แล้วจึงเปิดฝาหม้อ
5. นำถุงเมล็ดธัญพืช ออกจากหม้อนึ่ง วางไว้จนอุ่น แล้วใส่ในตู้เชื้อ ซึ่งเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์แล้ว
6. เปิดสวิทซ์หลอดยูวี ประมาณ ½ ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อภายในตู้
7. ก่อนเริ่มทำงาน ผู้เขี่ยเชื้อต้องทำความสะอาดมือและแขน ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใส่หัวเชื้อราบิวเวอเรียในถุง ใช้หัวเชื้อในรูปน้ำ หรือหัวเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
8. วางเลี้ยงในที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีแสงสว่าง แต่ไม่ถูกแสงแดด ไม่วางถุงซ้อนกันนานประมาณ 15 วัน
9. ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์ 70% หลังจากเสร็จสิ้นการใช้งานสำหรับการผลิตเชื้อราเมตาไรเซียม มีขั้นตอนการผลิตเหมือนกับเชื้อราบิวเวอเรีย เพียงแต่ในขั้นตอนการใส่หัวเชื้อ ใช้หัวเชื้อราเมตาไรเซียม แทนหัวเชื้อราบิวเวอเรีย




