ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีบทบาทในการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ ซึ่งในส่วนของ กรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานศูนย์บริหารศัตรูพืช ทั่วประเทศ จำนวน 9 ศูนย์ ที่มีบทบาทในการ ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชและส่งเสริมให้เกษตรกร ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติใช้เอง โดยเน้นการส่งเสริมในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ทั้งการผลิตขยาย แมลงศัตรูธรรมชาติ และเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้
การผลิตขยายแตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว
วัสดุและอุปกรณ์
1. กล่องพลาสติกพร้อมฝาและด้านข้างกล่องเจาะรูระบายอากาศบุด้วยผ้าขาวตาถี่
2. แอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์
3. ใบมะพร้าวอ่อนหรือแก่ที่สดมีสีเขียว
4. น้ำผึ้งเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์
5. พู่กัน
6. คีมหนีบหนอนพลาสติกขนาดเล็ก
7. กระดาษทิชชู
8. กรรไกรตัดใบมะพร้าว
9. สำลีทำความสะอาดแผล
10. ถ้วยพลาสติกกลมใสขนาดเล็ก 1 นิ้ว หรือหลอดยาพลาสติกสำหรับใส่แตนเบียนอะซีโคเดสไปปล่อยในแปลง
11. เข็มเจาะรูให้แตนออก
12. หลอดขนาดเล็กใส่พ่อแม่พันธ์ุแตนเบียนอะซีโคเดส
13. ลวดเบอร์ 0 สำหรับแขวนกล่องปล่อยแตนเบียน
14. ปากกาเมจิก
15. กระดาษจดบันทึก
16. กระดาษทิชชู
ขั้นตอนการผลิต
1. คัดแยกหนอนแมลงดำหนามมะพร้าววัย 3 และวัย 4 จำนวน 200 ตัวต่อกล่อง ใส่ในกล่องที่มีใบมะพร้าวอ่อนมัดไว้ 2 มัด (1 มัดมี 8−10 ใบ)
2. ใช้กระดาษทิชชูขนาดกว้าง 1 เซ็นติเมตร ยาว 2 เซ็นติเมตร ชุบน้ำผึ้งเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ ติดไว้ข้างกล่องเลี้ยงแตนเบียนที่มีตัวหนอนตามข้อ 1 จำนวน 10-15 มัมมี่ ในกล่องเลี้ยงแตนเบียน ปิดฝากล่องให้สนิท แล้วนำไปวางเก็บที่ชั้นวางกล่อง
3. เปลี่ยนอาหารหนอนเบียน (ใบอ่อนมะพร้าวที่มัดไว้) จำนวน 2−3 มัด ทุก 2-3 วัน
4. หลังจากถูกเบียน ประมาณ 8−10 วัน ตัวหนอนจะทยอยตายกลายเป็น “มัมมี่”
5. นำมัมมี่ที่ได้ล้างด้วยสารละลาย Clorox 10 เปอร์เซ็นต์ หรือไฮเตอร์ 10 เปอร์เซ็นต์ (Clorox 1 ส่วน น้ำ 9 ส่วน) หรือไฮเตอร์10 เปอร์เซ็นต์ อย่างรวดเร็ว จากนั้นผึ่งบนกระดาษทิชชูในที่ร่มให้แห้งสนิท
6. นำมัมมี่ที่ได้ใส่ในขวดที่มีฝาปิดและมีรูระบายอากาศ ขวดละ 10 มัมมี่เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ จำนวน 40 มัมมี่
7. นำมัมมี่ที่เหลือจากคัดพ่อแม่พันธุ์ไว้ จำนวน 5 มัมมี่ห่อด้วยผ้ากล๊อส แล้วใส่ในอุปกรณ์ สำหรับปล่อย (ลูกบอล) หรือถ้วยพลาสติกขนาดเล็ก และแตนเบียนอะซีโคเดสจะเริ่มเจาะออกจาก “มัมมี่” หลังจากเข้าเบียนหนอน 17−21 วัน หรือภายหลังเริ่มเป็นมัมมี่ 10−11 วัน