ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
เชื้อราบิวเวอเรีย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Beauveria bassiana
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
เชื้อราบิวเวอเรียหรือเชื้อราขาว เป็นเชื้อราที่เข้าทำลายแมลงศัตรูพืช ได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว หนอนห่อใบข้าว ด้วง ฯลฯ เชื้อรา บิวเวอเรียสามารถทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลง ในสภาพแวดล้อมการทดสอบ ที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 86 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราบิวเวอเรีย บาสเซียนา สายพันธุ์กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก −1) มีประสิทธิภาพในการควบคุม แมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ดังนี้ 1. พบการตายของ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง ร้อยละ 82.5, 67.5 และ 65.0 ตามลำดับ โดยเพลี้ยตายภายใน 2 ½ - 4 วัน2. พบการตายของหนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ร้อยละ 92.5, 77.5, 50.0 และ 32.5 ตามลำดับ โดยหนอนตายภายใน 3-4 วัน3. พบการตายของไรแดง ร้อยละ 95.0 โดยไรแดงตายภายใน 3 วัน ในปี 2543-2544 บริษัท เทพวัฒนาเคมี จำกัด ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภัณฑ์ เชื้อราบิวเวอเรีย ชื่อการค้า โคนิเดีย พบว่า โคนิเดีย สามารถควบคุมแมลงหวี่ขาวในฝ้าย และเพลี้ยไก่แจ้ ในส้มเขียวหวาน
ลักษณะรูปร่าง
การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย
สปอร์เชื้อราบิวเวอเรียตกลงบนผนังลำตัวของแมลง และเข้าสู่ลำตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว เมื่อมีความชื้นเหมาะสม สปอร์งอกและแทงทะลุผนังลำตัว โดยเฉพาะบริเวณผนัง ลำตัวที่อ่อนบาง เช่น รอยต่อระหว่างปล้องหรือระยางค์ต่างๆ เชื้อราจะเจริญสร้างเส้นใย ทำลายชั้นไขมัน และกระจายไปทั่วในช่องว่างภายในตัวแมลง ทำลายอวัยวะและระบบกลไกต่างๆ ในตัวแมลง เมื่อเชื้อราสร้างเส้นใยจนเต็มตัวแมลง แมลงแสดงอาการเป็นโรค เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่เคลื่อนไหว และตายในที่สุด หลังจากนั้นเชื้อราจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกมาภายนอก และสร้างสปอร์คล้ายฝุ่น สีขาวปกคลุมตัวแมลง สปอร์แพร่กระจายไปตามลม ฝน แมลงที่มาเกาะบริเวณที่มีเชื้อรา หากสภาพ แวดล้อมเหมาะสม เชื้อราก็จะทำลายแมลงศัตรูพืชต่อไป ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียทำลาย 1. แมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียทำลาย แสดงอาการเป็นโรค คือ เบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง อ่อนเพลีย ไม่เคลื่อนไหว 2. สีผนังลำตัวแมลงเปลี่ยนไป บริเวณที่ถูกเชื้อราทำลายเห็นเป็นจุดสีดำ 3. เส้นใยและสปอร์สีขาวปกคลุมตัวแมลง
วิธีการใช้เชื้อราบิเวอเรีย
1. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย 1-2 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยแบ่งน้ำเป็น 2 ส่วน นำเชื้อราผสมน้ำ 5 ลิตร (ส่วนที่ 1) ขยี้เบาๆ ให้สปอร์สีขาวออกมาอยู่ในน้ำ กรองเอาน้ำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร (ส่วนที่ 2) ซึ่งผสมสารจับใบไว้แล้ว 2. ให้น้ำแปลงปลูกพืชประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนการพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย 3. พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย โดยพ่นให้ถูกตัวแมลงศัตรูพืชหรือบริเวณที่แมลงอาศัย โดยพ่นในช่วงที่ แมลงศัตรูพืชออกหากิน หรือเวลาเย็น ซึ่งสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการงอกและเจริญเติบโตของเชื้อรา คือ สภาพความชื้นสูงและแสงแดดอ่อนๆ 4. หลังจากพ่นเชื้อราบิวเวอเรียแล้ว 5-7 วัน สำรวจแปลงพืช หากยังพบแมลงศัตรูพืช พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ เชื้อราบิวเวอเรียค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดด และอุณหภูมิสูง เชื้อรามีประสิทธิภาพในสภาพ ที่มีความชื้น หากอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เชื้อรา หยุดการเจริญเติบโต