ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichoderma harzianum
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
ความสำคัญ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูง สปอร์สีเขียวเข้ม เจริญได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุ เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีความสามารถในการแย่งอาหารและปัจจัยต่างๆ ของเชื้อราโรคพืช มีคุณสมบัติในการ ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น รากเน่าโคนเน่า โรคเน่าคอดิน โรคเหี่ยว โรคเมล็ดเน่า โรคเมล็ดด่าง โรคไหม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1. ลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช โดยการพันรัดเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคพืช แล้วปล่อย เอนไซม์ สลายผนังเส้นใยของเชื้อโรค และแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใยโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา เจริญอย่างรวดเร็ว โดยใช้อาหารจากภายในเส้นใยโรคพืช ส่งผลให้กิจกรรมด้านการเจริญเติบโตของเส้นใย และกิจกรรมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของเชื้อโรคลดลง2. ลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช สัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมการ เจริญเพื่อสร้างเส้นใย และสปอร์ เมื่อกิจกรรมดังกล่าวถูกขัดขวาง หรือ รบกวนโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคลดลง และ ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลง จนอยู่ในระดับ ที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับพืชที่ปลูก3. เพิ่มการเจริญเติบโตของพืช มีรายงานว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารเร่งการเจริญเติบโต (ฮอร์โมน) ต่างๆ ในขณะที่บางรายงานเชื่อว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารกระตุ้นให้พืชสร้างสารเร่ง การเจริญเติบโต4. เพิ่มความต้านทานของพืช การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาฉีดเข้าลำต้น หรือระบบราก นอกจากช่วย ในการป้องกัน และรักษาพืชที่เป็นโรคแล้ว ยังทำให้พืชแข็งแรงและต้านทานต่อการเกิดโรค
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
กลไกในการทำลายเชื้อราโรคพืช 1. การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา เจริญสร้างใยรวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ ในปริมาณสูง ทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถแข่งขันกับเชื้อราโรคพืชที่อยูในบริ่ เวณเดียวกัน 2. การเป็นปรสิต เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถพันรัดเส้นใยเชื้อรา สาเหตุโรคพืช แล้วสร้างเอนไซม์ ย่อยสลายผนังเส้นใยโรคพืช จากนั้นแทงเส้นใยไปเจริญอยู่ภายในเส้นใยโรคพืช 3. สร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา สร้างปฏิชีวนสาร สารพิษและเอนไซม์ เพื่อทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช 4. ชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถชักนำให้พืชผลิตเอนไซม์หรือโปรตีน ทำให้พืชเกิดความต้านทานเชื้อโรคพืช
การนำไปใช้
1. ใช้คลุกเมล็ด โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ใส่น้ำ 10 มิลลิลิตร นำไป คลุกกับเมล็ดพันธุ์1 กิโลกรัม เพื่อควบคุมเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด และป้องกันรากพืชที่เพิ่งงอกไม่ให้ถูกเชื้อรา โรคพืชเข้าทำลาย สำหรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว ให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำ 1-2 คืน แช่ในน้ำเชื้อไตรโคเดอร์มา ประมาณ ½ ชั่วโมง (เชื้อ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร เอาเฉพาะน้ำสีเขียว) และน้ำเชื้อที่เหลือรดในช่วงการบ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว 2. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม ผสมกับรำ 4 กิโลกรัมและปุ๋ยอนินทรีย์ 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันนำไป 2.1 ผสมกับวัสดุปลูก อัตราเชื้อที่ผสมแล้ว 1 ส่วน วัสดุปลูก 4 ส่วน 2.2 รองก้นหลุม อัตรา 10-100 กรัมต่อหลุม ขึ้นกับขนาดหลุม 2.3 หว่านในแปลงปลูก หรือรอบทรงพุ่ม อัตรา 50-100 กรัม ต่อตารางเมตร 3. ฉีดพ่น โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร กรองเอาเฉพาะน้ำฉีดพ่น หรือรดลงดินหรือวัสดุปลูก 10-20 ลิตร ต่อ 100 ตารางเมตร (160-320 ลิตรต่อไร่) หรือฉีดพ่นบนพืช 5-10 ลิตรต่อต้น 4. ทาลำต้น ใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฝุนแดง่ ½ กิโลกรัม คนให้เข้ากัน ทาบนลำต้นที่เป็น โรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งได้ถากเปลือกแล้ว