ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงศัตรูธรรมชาติ มีประโยชน์และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช (Insect pest) โดยชีววิธีและเป็นปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic factor) ที่ช่วยควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพสมดุลตามธรรมชาติ (Natural balance) ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ หมายถึงแมลงห้ำ (Predator) และแมลงเบียน (Parasite)
แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Apanteles sp.
อันดับ (Order)
Hymenoptera
วงศ์ (Family)
Braconidae
ความสำคัญ
แตนเบียนหนอนกระทูผั้ ก เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมปริมาณหนอนกระทูผั้ ก โดยสามารถทำลายหนอนกระทู้ผักได้ 30-50% ช่วยลดความเสียหายของผัก และลดจำนวนของหนอน กระทู้ผักในรุ่นถัดไปหนอนกระทู้ผัก
ลักษณะรูปร่าง
ดักแด้: ลักษณะคล้ายรังไหมสีน้ำตาล
ตัวเต็มวัย: มีขนาดเล็กสีดำ หนวดแบบเส้นด้าย ด้านใต้ท้องมีสีน้ำตาลเหลือง เพศเมียมีอวัยวะวางไข่ยื่นยาวออกมา
ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช
แตนเบียนทำลายหนอนกระทู้ผัก โดยแตนเบียนเพศเมียวางไข่ในหนอนกระทู้ผักวัย 2-3 หนอน ที่ถูกเบียนจะเคลื่อนไหวช้า ลำตัวสีซีดลง กินอาหารน้อย ชะงักการเจริญเติบโต เมื่อหนอนแตนเบียน เจริญเติบโตเต็มที่จะเจาะผนังลำตัวหนอนกระทู้ผักออกมาเข้าดักแด้ข้างนอก ดักแด้แตนเบียนคล้าย รังไหมสีน้ำตาล ติดอยู่บนใบพืช อยู่ใกล้ๆ ตัวหนอนกระทู้ผักที่ถูกเบียน สังเกตเห็นได้ง่าย
การนำไปใช้
ปล่อยแตนเบียนหนอนกระทู้ผักในระยะตัวเต็มวัย ประมาณ 100 ตัวต่อไร่ เมื่อสำรวจพบไข่ หรือ หนอนกระทู้ผักที่เพิ่งฟักออกจากไข่ โดยปล่อยในช่วงเช้า หรือเย็น ในช่วงที่อากาศไม่ร้อนเกินไป และ ควรอนุรักษ์พืชที่ให้เกสรและน้ำหวานไว้รอบๆ แปลงผัก เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแตนเบียน และปล่อย แตนเบียนควบคู่กับการใช้เชื้อบีที